News

อลูมิเนียมโปรไฟล์ (Aluminium Profile)

อลูมิเนียมโปรไฟล์ (Aluminium Profile) Aluminum Profile อลูมิเนียมโปรไฟล์ หรือ Aluminum Frame อลูมิเนียมเฟรม คือ อลูมิเนียมที่มีการรีดขึ้นรูป มีลักษณะเป็นเส้นยาว มีหน้าตัดและขนาดที่แตกต่างกันออกไปหลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะใช้อลูมิเนียมเกรด 6063 ในการผลิต เพราะ อลูมิเนียมเกรด 6063 มีส่วนผสมของ แมกนีเซียม Magnesium และ ซิลิคอน Silicon ในปริมาณที่มากทำให้ง่ายต่อการขึ้นรูป ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป เน้นหลักในงานโครงสร้างทางวิศวกรรมต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ประกอบเป็นโครงสร้างใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิม น้ำหนักเบาแต่แข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักได้ดี ไม่ก่อให้เกิดฉนวนไฟฟ้าทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทำความสะอาดง่าย สามารถถอดประกอบ และ ต่อเติมภายหลังได้สะดวก ด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีให้เลือกหลากหลาย สามารถทำการ Heat-treatable และ Anodized ได้ ที่สำคัญยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   #Automation Solutions #SMT Equipmant […]

หุ่นยนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท

หุ่นยนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท หุ่นยนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท และมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดระบบออโตเมชั่นขึ้นมาให้เราใช้งาน Industry Robot คือระบบที่ใช้ในงานการผลิตแบบอัตโนมัติ เช่น งานสร้างรูปทรงโดยตัดเฉือนเนื้อวัสดุออก, งานประกอบ, งานตรวจสอบ, งานหยิบจับวัสดุ เป็นต้น โดยหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทางานได้อัตโนมัติตามโปรแกรมที่วางไว้ มีแขนขยับได้ 3 แกน และอาจจะเป็นแบบเคลื่อนที่ได้หรือไม่ได้ก็ได้ Service Robot คือระบบที่ใช้ในโรงงานผลิตหรือโกดังและใช้ในงานประเภทอื่นนอกเหนือจากงานการผลิตแบบอัตโนมัติ โดยหุ่นยนต์ประเภทนี้อาจมีแขนหรือไม่มีแขนก็ได้ โดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวได้และต้องทางานร่วมกับมนุษย์มากกว่า Industrial Robot Consumer Robot คือระบบที่ใช้งานที่บ้าน เช่น ระบบโฮมออโตเมชัน การศึกษา การช่วยเหลือและดูแลมนุษย์ และความบันเทิงในครอบครัว ทั้ง 3 หมวดนี้คือระบบออโตเมชั่นหลักๆ ที่นิยมใช้กัน แต่เพื่อนๆรู้มั้ยว่า กว่าจะมาเป็นระบบออโตเมชั่นใหญ่ๆ ในโรงงานที่เราเห็นเขาใช้กันนั้น มันมีอะไรบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วหลักการของมันก็จะคล้ายกับคอมพิวเตอร์ที่เพื่อนๆใช้กันนั่นแหละ โดยจะเป็นการประกอบ  Hardware และ ขับเคลื่อนด้วย Software นั่นเอง ซึ่งจะมีส่วนประกอบดังนี้ Hardware Motors and Drives – มอเตอร์คืออุปกรณ์ที่สร้างแรงหมุนหรือแรงที่เป็นเส้นตรง เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ […]

ส่วนประกอบของระบบออโตเมต

ส่วนประกอบของระบบออโตเมต ในยุคปัจจุบันปฎิเสธไม่ได้ว่าระบบดิจิตอลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของของเรา ครอบคลุมในทุกๆด้านตอบรับกระแสความต้องการของแต่ละบุคคลการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างก้าวกระโดดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อตอบสนองกำลังการผลิต ดังนั้นการนำเทคโนโลยีระบบออโตเมชั่นและซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทุกๆอุตสาหกรรม Technology Advances Automation หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลแบบออโตเมตที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยนอกจากจะสามารถทดแทนการใช้งานแล้ว ยังให้การทำงานที่มีความเสถียรสูงและมีประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมสูงกว่าอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อระบบผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อการควบคุมการทำงานผ่านอุปกรณ์แท็บเล็ตสมาร์ทโฟน หรือการควบคุมผ่านห้องควบคุมส่วนกลางได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะลดข้อจำกัดทางด้านความสามารถของบุคลากรและลดความยุ่งยากในการทำงาน การนำระบบออโตเมชั่นมาควบคุมการผลิตถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่มีความยั่งยืนและจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันการผลิตชิ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต   Enterprise Resource Planning (ERP) โปรแกรมเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทุกขั้นตอนเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงระบบการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ERP เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตมากนัก หรือสำหรับธุรกิจขนาดย่อมหรือเล็กอาจเลือกใช้เฉพาะบางโมดูลตามความจำเป็น อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถนำไอทีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและความถูกต้องได้โดยง่าย หากได้รับคำแนะนำและนำระบบ ERP ไปใช้อย่างเหมาะสม   Manufacturing Execution System (MES) ระบบ MES ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานครอบคลุมทุกกระบวนการมากยิ่งขึ้นภายในโรงงานในช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งจะครอบคลุม 3 กระบวนการหลักนั้นคือ PRODUCTION,PERSONNEL และ QUALITY โดยเริ่มตั้งแต่คำสั่งซื้อจากลูกค้า การวางแผนผลิต และแผนในการรองรับวัตถุดิบและชิ้นงานจากซัพพลายเออร์ต่างๆ ไปจนถึงการผลิตชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ เหมาะสม และคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบ MES จะทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่งสัญญาณการผลิตที่เข้ากับเครื่องจักรโดยตรง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ ERP แบบ Real-time ทำให้เครื่องจักรสามารถถ่ายทอดข้อมูลและแสดงผลโดยตรงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น   Product Lifecycle Management (PLM) ระบบการจัดการทั้งวงจรการผลิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่จากแนวคิดไปจนถึงการออกแบบ (CAD/CAM/CAE) พัฒนาผลิตภัณฑ์ การจำลองการผลิต [Predictive engineering analytics และ Mechatronic System Simulation (1D CAE) เพื่อใช้ในการออกแบบการผลิตในสภาวะที่เหมาะสมที่สุดก่อนทำงานจริง Finite element analysis (FEA) วิเคราะห์การผลิตที่มีความซับซ้อนสูง (Modal testing and analysis) การวางแผนการผลิต การใช้พลังงาน การใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำงานทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงในตลาดโลก PLM สามารถเป็นแหล่งจัดการข้อมูลที่เรียกว่า Product Data Management ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลบุคลากร กระบวนการ ระบบบริหารธุรกิจ และระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล เทคโนโลยีนี้ยังเหมาะสำหรับการออกแบบสายการผลิตใหม่ภายในโรงงาน การจำลองสายการผลิตใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิตตามแผนที่กำหนด โดยอ้างอิงจากฐานการผลิตเดิมในการออกแบบ Production line ซึ่งในอดีตการขยายสายการผลิตใหม่แต่ละโรงงานต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 12 เดือน แต่ด้วยการจำลองสายการผลิตผ่านเทคโนโลยี PLM พบว่าใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการสร้างสายการผลิตใหม่ และช่วยประหยัดต้นทุนรวมได้มากถึง 20% นอกจากนี้บริษัทแห่งนี้ได้พบจุดบกพร่องในสายการผลิตเดิมซึ่งสามารถแก้ไขและนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ดีกว่าเดิมถึง 25% นับเป็นตัวเลขที่มีความน่าสนใจอย่างมาก   Manufacturing Operations Management(MOM) เป็นวิธีการล่าสุดที่ประสบความสำเร็จและเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมโซนยุโรปและอเมริกา วิธีการนี้เกิดจากแนวคิดร่วมกันระหว่าง PLM และ MES ซึ่งจะมีระบบ SCADA Intelligence และ Manufacturing Intelligence ที่สามารถควบคุมตั้งแต่การวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวิธีการผลิตตามที่ลูกค้าต้องการวางแผนการผลิตขั้นสูง (Advanced planning and scheduling) กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด โดยอาศัยซอฟต์แวร์และระบบออโตเมชั่นในการควบคุมทั้งระบบแบบเรียลไทม์ตั้งแต่การจัดการการผลิต วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต การควบคุมและการประกันคุณภาพไปจนถึง human machine interface […]

ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน

ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน   ตอนนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องของระบบ Automation เต็มไปหมด เพราะเทรนด์ที่กำลังถูกพูดถึงในขณะนี้ยังรวมไปถึง ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ ‘ผิดอย่างมหันต์’ เพราะแรกเริ่มเดิมทีการเกิดขึ้นของระบบ Automation มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ หรือทำงานในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งจริงๆ แล้วระบบออโตเมชันสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความต้องการ (Demand) และการใช้ทรัพยากรมากขึ้นในภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงภาคส่วนของออโตเมชันเองด้วย ทั้งยังเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำอยู่แล้วสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันในตลาดต่างประเทศมีการตื่นตัวในการใช้ระบบออโตเมชันและหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดโลกอย่างกว้างขวาง เทรนด์การนำหุ่นยนต์มาแทนที่คนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การขาดแคลนแรงงานฝีมือซึ่งเป็นช่องว่างที่ถูกเติมเต็มด้วยเทคโนโลยี ทำให้ผู้คนต่างวิตกกังวลว่าคนจะอยู่ตรงไหนในงานอุตสาหกรรม? เรามารู้จักประโยชน์ของหุ่นยนต์หรือระบบ Automation กันก่อนครับ ระบบ Automation คืออะไร? ระบบ Automation คือ ระบบควบคุมอัตโนมัติที่สามารถเริ่มต้นการทำงานได้เองผ่านการรันโปรแกรมที่วางเอาไว้ เพื่อช่วยในการควบคุม สั่งงาน หรือรับคำสั่งงานต่างๆ รวมถึงกำหนดการทำงานของระบบควบคุมอัตโนมัติให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ระบบ Automation ช่วยอะไรได้? จากรายงานพบว่าค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำงานของแรงงานเมื่อนำหุ่นยนต์เข้ามาเพิ่มขึ้น 0.37% เพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้ถึง 13.6% ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์หลักของการใช้งานหุ่นยนต์ดังนี้ ลดต้นทุน– ระบบ Automation ช่วยลดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี […]

1 2