หุ่นยนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
หุ่นยนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท และมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดระบบออโตเมชั่นขึ้นมาให้เราใช้งาน
Industry Robot
คือระบบที่ใช้ในงานการผลิตแบบอัตโนมัติ เช่น งานสร้างรูปทรงโดยตัดเฉือนเนื้อวัสดุออก, งานประกอบ, งานตรวจสอบ, งานหยิบจับวัสดุ เป็นต้น
โดยหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทางานได้อัตโนมัติตามโปรแกรมที่วางไว้ มีแขนขยับได้ 3 แกน และอาจจะเป็นแบบเคลื่อนที่ได้หรือไม่ได้ก็ได้
Service Robot
คือระบบที่ใช้ในโรงงานผลิตหรือโกดังและใช้ในงานประเภทอื่นนอกเหนือจากงานการผลิตแบบอัตโนมัติ
โดยหุ่นยนต์ประเภทนี้อาจมีแขนหรือไม่มีแขนก็ได้ โดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวได้และต้องทางานร่วมกับมนุษย์มากกว่า Industrial Robot
Consumer Robot
คือระบบที่ใช้งานที่บ้าน เช่น ระบบโฮมออโตเมชัน การศึกษา การช่วยเหลือและดูแลมนุษย์ และความบันเทิงในครอบครัว
ทั้ง 3 หมวดนี้คือระบบออโตเมชั่นหลักๆ ที่นิยมใช้กัน แต่เพื่อนๆรู้มั้ยว่า กว่าจะมาเป็นระบบออโตเมชั่นใหญ่ๆ ในโรงงานที่เราเห็นเขาใช้กันนั้น มันมีอะไรบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วหลักการของมันก็จะคล้ายกับคอมพิวเตอร์ที่เพื่อนๆใช้กันนั่นแหละ โดยจะเป็นการประกอบ Hardware และ ขับเคลื่อนด้วย Software นั่นเอง ซึ่งจะมีส่วนประกอบดังนี้
Hardware
Motors and Drives
- มอเตอร์คืออุปกรณ์ที่สร้างแรงหมุนหรือแรงที่เป็นเส้นตรง เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
- ไดรฟ์เวอร์คืออุปกรณ์ที่ควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่ส่งไปที่มอเตอร์เพื่อปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์
Sensors and Visions
- เซ็นเซอร์และวิชันส์คืออุปกรณ๋ที่เก็บดาต้าจากสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น และแรงสั่นสะเทือน หรือสถานที่ตั้งของวัตถุ
- เซ็นเซอร์และวิชันส์อาจจะเป็นแบบมีสายหรือไร้สายก็ได้ และสามารถประกอบเข้าไปในโครงสร้างพื้นฐานหรือนอกโครงสร้างพื้นฐานก็ได้
Speed Reducers
- สปีดรีดิวเซอร์คือกลไกที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์เพื่อให้มีความเร็วและแรงบิดที่เหมาะสมกับการทางาน
- ตัวอย่างของสปีดรีดิวเซอร์ คือ RV, harmonic เกียร์แบบ planetary
Autonomous Navigation
- ระบบนำทางอัตโนมัติคือระบบที่ประกอบด้วยเซ็นเซอร์และเทคโนโลยีที่ช่วยให้หุ่นยนต์ (ที่เคลื่อนที่ได้) สามารถตรวจจับ หาเส้นทาง และวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่เพื่อไม่ให้ชนกับมนุษย์หรือวัตถุต่าง ๆ
- ตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้คือ Gyroscopes, SLAM, LIDAR, GPS, QR Code แถบแม่เหล็ก, IR, โซนาร์, และ computer vision
EndEnd -effectors
- เอ็นด์เอฟเฟคเตอร์คืออุปกรณ์ที่ต่อติดกับปลายแขนของหุ่นยนต์เพื่อใช้ “จัดการ” กับสิ่งแวดล้อม/วัสดุภายนอก
- ตัวอย่างของเอ็นด์เอฟเฟคเตอร์คือ มือจับ ถ้วยดูด เครื่องมือเชื่อม ท่อและหัวสเปรย์ จานขัด หรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
Software และเทคโนโลยี ICT
Connectivity
- เทคโนโลยีการเชื่อมต่อคือฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์ที่เชื่อมหุ่นยนต์เข้ากับระบบไอที ระบบควบคุม หรือระบบไอโอที เพื่อใช้ในการอัพเกรดโปรแกรม อัพโหลดหรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ควบคุมจากระยะไกล และรับส่งข้อมูลต่าง ๆ
IT Software
- ซอฟต์แวร์สำหรับหุ่นยนต์คือซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้ประกอบการติดตั้งและใช้งานหุ่นยนต์ ซึ่งมีฟังก์ชันหลักคือ สร้างโมเดลและแบบจาลองต่าง ๆ, ตั้งโปรแกรมแบบออฟไลน์ และแก้ไขโปรแกรมต่าง ๆ
Integration Services
- บริการติดตั้งระบบคือบริการเชื่อมต่อหุ่นยนต์เข้ากับระบบการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ บริการติดตั้งนั้นรวมถึง การติดตั้งทางกายภาพ ติดตั้งโปรแกรม แก้ไขพื้นที่โรงงาน บริการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม และบริการบริหารโครงการ
ทั้งหมดนี้คือความรู้เบื้องต้นง่ายๆ ในการทำความเข้าใจระบบออโตเมชั่น ซึ่งในยุคนี้จะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบเปิดของไทยนั้นเอื้อต่อการลงทุนและทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนของผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ทำให้ในอนาคตเราจะได้เห็นโรงงานห้างร้านต่างๆ จะมีการปรับเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์กันอย่างมากขึ้นแน่นอน
Credit : TNG
#Automation Solutions #SMT Equipmant #Pneumatic Instrument #Automatic Equipments #Smart Conveyor & Assembly Lines #Lable Dispenser #Lean PIPE Assembly (Aluminum tube) #Lean PIPE Assembly (PE + Steel pipe) #Aluminum Profile #Vision Inspection / Sorting Machine #Lead Forming & Cutting Machine #Robot #Jig-Fixture / Solder Pallet
#ระบบ ออโต้เมชั่น #อุปกรณ์ลม #เซนเซอร์ #อุปกรณ์สายพาน #ท่ออลูมิเนียม #รับอัพเกรดเครื่องจักรเดิม